Print

เปรียบเทียบค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงระหว่างการหายใจจากอากาศกับการให้ออกซิเจนทางจมูก ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ในห้องพักฟื้น

Comparision oxygensaturasion room air and cannula after spinal block in recovery room

ปราณี ลิ้นฤาษี (สบ.), จุฑามาศ สมชาติ (พบ.วว.)

กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลลำพูน

บทคัดย่อ

ความสำคัญ : ภาวะ hypoxemia หมายถึงภาวะที่ค่าความดันออกซิเจนในเลือดแดงต่ำกว่า 60 มม.ปรอท หรือกความอิ่มตัวออกซิเจนออกซิเจนในเลือดแดงต่ำกว่า 90%การให้ออกซิเจนในผู้ป่วยหลังผ่าตัดจะทำกันเป็นประจำเพื่อป้องกันการขาดออกซิเจนจากการระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องให้ทุกราย เนื่องจากมีการเฝ้าระวังโดยการติดเครื่องวัดความอิ่มตัวออกวิเจนในเลือดแดงไว้ตลอดเวลา ควรให้ในผู้ป่วยที่มีภาวะอูณหภูมิกายต่ำ มีโรคปอด โรคหัวใจ ซีด การหายใจผิดปกติ และผู้ป่วยที่มีค่าออกซิเจนในเลือดแดงต่ำกว่าร้อยละ 94% เพื่อลดค่าใช้จ่าย แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลลำพูนมีผู้รับบริการเฉลี่ย 9775คนต่อปี มีผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง 1022คนต่อปี ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของค่าความอิ่มตัวออกซิเจนออกซิเจนในเลือดแดงของผู้ป่วยที่หายใจจากอากาศกับผู้ป่วยที่ให้ออกซิเจน 3ลิตรต่อนาทีทางสายยางที่จมูกหลังผ่าตัดให้การระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง

รูปแบบการศึกษา สถานที่ และผู้ป่วย: เป็นการศึกษาแบบ Ramdomized control trial โดย single blind ผู้ป่วย ที่แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลลำพูน เก็บข้อมูล 1มกราคม ถึง 30เมษายน 2559 คำนวณกลุ่มตัวอย่างจาก pilot study 10 ราย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป two sample comparision of mean ได้ผู้ป่วยจำนวน 80 ราย แบ่งเป็นสองกลุ่มโดยใส่ซองปิดผนึก กลุ่มละ 40 คน Inclusion criteria ผู้ป่วย elective case ASA 1 ถึง 2 มาทำ spinal block, Exclusion criteria ผู้ป่วยที่มี Shivering, underlying disease ที่จำเป็นต้องให้ออกซิเจน ผู้ป่วยทุกรายได้รับความรู้และยินยอมเข้าร่วมการวิจัยและ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมโรงพยาบาลลำพูน

วิธีการวัดผล: ใช้การเปรียบเทียบสองกลุ่มโดยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย chi 2 และUnpair t-test

ผล: ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีอายุเฉลี่ย 56.58?12.99ปี น้ำหนักเฉลี่ย58.83?9.62กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย158.66?7.81เซนติเมตรและระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย96.56?35.50นาทีใกล้เคียงกัน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงเมื่อมาถึงห้องพักฟื้นในกลุ่มที่หายใจ room air ตามปกติเปรียบเทียบกับการให้ออกซิเจนขนาด 3ลิตรทางสาย cannula แรกรับที่ห้องพักฟื้น97.85?1.86,98.50?1.50 (p=0.084) นาทีที่15 97.80?1.52,98.50?1.51 (p=0.043) นาทีที่30 97.48?1.66, 98.60?1.71 (p=0.003) นาทีที่45 97.88?1.45,98.73?1.28 (p=0.069) นาทีที่60 98.00?1.55,98.80?1.34 (p=0.015)

ข้อยุติและการนำไปใช้: ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ที่หายใจจาก room air และให้ออกซิเจน 3lit/min เวลาแรกรับที่ห้องพักฟื้นและนาทีที่ 45 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นาทีที่ 15,30,60 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางคลินิกไม่มีผู้ป่วยที่มีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงต่ำกว่า 94%ที่จำเป็นต้องให้ออกซิเจน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายโรงพยาบาล จึงควรพิจารณาผู้ป่วยก่อนการให้ออกซิเจน ไม่ให้ออกซิเจนตาม routine แบบเดิม ติดตามค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง จากเครื่องวัด pulse oximetry ตลอดเวลา

คำสำคัญ: Pulse oxymeter , oxygen saturasion , recovery room , spinal block