การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลลำพูน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ศรีพรรณ์ ธัญหล้า กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลลำพูน
ความเป็นมา:กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลลำพูนให้บริการทันตสุขภาพทั้งเชิงรุกและเชิงรับ จึงมีผู้ป่วยต่อวันจำนวนมาก การบริการไม่ทั่วถึง และมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ ผู้วิจัยจึงนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ หลักสังคหวัตถุธรรมซึ่งประกอบด้วย ทาน ปิยวาจาอัตถ จริยา และสมานัตตตามาใช้ในการปฏิบัติงาน ตามแนวนโยบายโรงพยาบาลคุณธรรมของโรงพยาบาลลำพูน
วัตถุประสงค์:กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลลำพูนให้บริการทันตสุขภาพทั้งเชิงรุกและเชิงรับ จึงมีผู้ป่วยต่อวันจำนวนมาก การบริการไม่ทั่วถึง และมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ ผู้วิจัยจึงนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ หลักสังคหวัตถุธรรมซึ่งประกอบด้วย ทาน ปิยวาจาอัตถ จริยา และสมานัตตตามาใช้ในการปฏิบัติงาน ตามแนวนโยบายโรงพยาบาลคุณธรรมของโรงพยาบาลลำพูน
วิธีการศึกษา:เป็นรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณ คือประชากรที่มารับบริการกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลลำพูน จำนวน ๒๘๖ คน โดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t test) และค่าเอฟ (F test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๑๒ คน
ผลการศึกษา :ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม พบว่าค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับสูง (= ๔.๒๑) และเรียงตามลำดับ คือ ด้านปิยวาจา ด้านทาน ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา โดยปัจจัยเพศและอาชีพมีผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการ ปัจจัยด้านอายุ การศึกษา รายได้และความถี่ในการรับบริการไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการ ปัญหาและอุปสรรค คือ จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ บางส่วนพูดจาไม่ไพเราะ ขาดความกระตือรือร้นและวางตนไม่เหมาะสมกับการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จากผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ส่วนใหญ่เน้นเรื่องการให้บริการที่สอดคล้องกับหลักสังคหวัตถุธรรม โดยเฉพาะการให้บริการที่สะดวกรวดเร็วและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย การพูดจาไพเราะและการช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ประชาชน
สรุปและข้อเสนอแนะ:ทางหน่วยงานควรส่งเสริมเจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยปิยวาจา พูดจาไพเราะ เอาใจใส่ในการให้บริการมากขึ้นและวางตนเหมาะสมกับความเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้ประชาชนนับถือและไว้วางใจในการรับบริการ
คำสำคัญ:การให้บริการตามหลัก สังคหวัตถุธรรม , ความพึงพอใจของประชาชน