Print

การศึกษาสาเหตุที่มีผลต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกคลอดโรงพยาบาลลำพูน

ชื่อผู้ทำวิจัย นางวันทนีย์ เชื่อมรัมย์

ผู้ร่วมวิจัย นางศิริพร ยอดยิ่ง

นางสาววรรณิดา กิติธนะ

นางนุชนาฏ ลี้ตระกูล

ความสำคัญและที่มาของปัญหา ( Rationale ) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง :

ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่สำคัญในทารกแรกเกิด มักพบในวันที่2-3 หลังคลอด ทารกตัวเหลือง เกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงมีการแตกทำลายและมีสารสีเหลืองที่เรียกว่าบิลิรูบินตกค้างอยู่ สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งด้าน Physiological Jaundice และ Pathological Jaundice ทำให้ทารกต้องได้รับการรักษา ด้วยการส่องไฟ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาคือ ภาวะบิลิรูบินคั่งในสมองทำให้ทารกชัก ปัญญาอ่อน เกิดความผิดปกติของสมองอย่างถาวร และอาจเสียชีวิตได้

จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ทารกตัวเหลืองมากมายดังนี้ จากการศึกษาทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดที่โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่แบบติดตามไปข้างหน้าได้เก็บเลือดจากสายรกหลังจากที่ทารกคลอดแล้วและนำไปตรวจหมู่เลือด เอบีโอระดับเอนไซม์ จี-ซิก-พีดีและภาวะอัลฟ่า-ธาลัสซีเมีย ตัวอย่างเลือดที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จี-ซิก-พีดีจะ นำไปตรวจหาความผิดปกติของยีนยูจีทีวันเอวัน(UGT1A1 gene) ที่ตาแหน่งนิวคลีโอไทด์211 (G211A) และที่ ตำแหน่งโปรโมเตอร์ (TA7) ใช้การตรวจทางสถิติแบบ unilabiate และ multivariate logistic regression เพื่อ วิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ผลการศึกษา ทารกแรกเกิดจำนวน 543 รายเข้าร่วมในการศึกษา ทารก 87 ราย (ร้อยละ 16) มีภาวะตัวเหลืองที่ ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ ไม่มีทารกรายใดได้รับการถ่ายเลือด การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ภาวะ หมู่เลือดเอบีโอไม่เข้ากันระหว่างทารกและมารดา และภาวะพร่องเอนไซม์จี-ซิก-พีดีทำให้ ความเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเพิ่มขึ้น 2-4 เท่า ชนิดของนม ร้อยละของน้ำหนักตัวที่ลดลง ภาวะเลือดออกชนิด Cephahematoma การเป็นพาหะของอัลฟ่า-ธาลัสซีเมียและโรคฮีโมโกลบิน เอช ไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะตัว เหลืองความผิดปกติของยีนยู จี ทีวันเอวันไม่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะตัวเหลืองในกลุ่มทารกที่มีภาวะพร่อง เอนไซม์จี -ซิก-พีดี

การศึกษา : ทารกตัวเหลืองในโรงพยาบาลบ้านฉางสัมพันธ์กับการรับนมของทารกในช่วง 2 วันแรก เนื่องจากน้ำ นมแม่ยังมีน้อยหากได้รับการดูแลสอดส่องและกระตุ้นให้ดูดนมตามเวลาและเพียงพอแนะนำให้มารดาและญาติมีทัศนคติ ที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยทำให้อัตราทารกตัวเหลืองหลังคลอดลดลงและ สามารถลดวันนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายลงได้ ( น้ำเพชร แสงวรรณกุล ,2553 ) จากศึกษาการให้ทารกดูดนมมารดาเร็ว ดูดบ่อยและดูดถูกวิธีต่อภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลมหาสารคาม ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดของแผนกเด็กอ่อนทุกโรงพยาบาลจากสถิติมารดา ที่คลอดในโรงพยาบาลมหาสารคาม เกิดภาวะตัวเหลือง ในปีพ.ศ. 2545 = 29.83% พ.ศ. 2546 = 25.32 % พ.ศ. 2547 = 26.89% สาเหตุมีมากมายหลายประการ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ทารกได้รับน้ำนมไม่พอ ซึ่งเกิด จากทารกได้ดูดนมมารดาช้า ดูดไม่บ่อย ไม่ถูกวิธีทำให้น้ำนมมารดามาน้อยดังนั้นทีมวิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาผล ของการให้ทารกดูดนมมารดาเร็วดูดบ่อยและดูดถูกวิธีต่อภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาล มหาสารคาม ได้ทำการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi–experiment) ในมารดาและทารกหลังคลอดระหว่างวันที่ 21 มีนาคม 2548 ถึง 20 สิงหาคม 2548 จำนวน 500 ราย ให้ทารกดูดนมมารดาเร็วภายใน 30 นาทีหลังคลอดดูดบ่อยสม่ำเสมอ 9 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมงและไม่น้อยกว่า 18 ครั้งใน 48 ชั่วโมง และให้ดูดอย่างถูกวิธีทุกครั้งโดยใช้แบบประเมิน Latch Score ผลการตรวจค่าบิลิรูบินที่ 48 ชั่วโมง มีภาวะตัวเหลือง 14 รายคิดเป็นร้อยละ 2.8 พบว่าการให้ ทารกดูดนม มารดาเร็วดูดบ่อยดูดถูกวิธีทำให้ ภาวะตัว เหลืองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P- Value < 0.001 ( วรพงษ์ วรเชษฐ์ , 2548 )การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ

ผลการวิจัย :

1. อัตราการเกิดภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดร้อยละ35.302.เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตัวเหลืองของทารกผลการศึกษาด้านมารดาพบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของทารกมีความสัมพันธ์ กับการเกิดภาวะตัวเหลือง ตัวแปรอื่นๆ ช่วงอายุของมารดา การประกอบอาชีพ ระดับการศึกษา ของมารดา อายุครรภ์ ลำดับการตั้งครรภ์ การแท้งบุตร วิธีการคลอด ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ลักษณะน้ำคร่ำ และภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตัวเหลืองของทารกผล การศึกษาด้านทารกพบว่าเมื่อวิเคราะห์หาปัจจัยความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตัวเหลือง ชนิดของน้ำนมที่ทารกได้รับใน 48 ชม.แรกและการขับถ่ายปัสสาวะใน 24 ชม.แรก มีความสัมพันธ์ กับการเกิดภาวะตัวเหลือง ส่วนตัวแปรอื่นๆ เพศ น้ำหนักเด็กแรกเกิด หมู่เลือดของทารกแรกเกิด Apgar score นาทีที่5และลักษณะอุจจาระในครั้ง ล่าสุดใน 48 ชม.ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด อภิปราย สรุปและข้อเสนอแนะจากการค้นพบดังกล่าว พบว่าทารกที่ได้รับนมไม่เพียงพอภายใน 48 ชม.แรกมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด พยาบาลจึงควรส่งเสริม ให้ความรู้สอนวิธีการให้นมแม่ (ให้นมผสมได้ ในกรณีที่มารดาน้ำนมยังไม่มาหรือมาน้อย )อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะนมมารดาเพราะการให้นมมารดามีประโยชน์ และสามารถป้องกันทารกภาวะตัวเหลืองได้รวมทั้งเป็นการกระตุ้นการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระลดการตัว เหลือง สัมพันธ์กับจำนวนครั้งในการปัสสาวะที่น้อยครั้งมีผลต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองรวมทั้งส่งเสริมต่อเนื่อง เมื่อกลับถึงบ้าน และเป็นการป้องกันการกลับมารักษาซ้ำด้วยภาวะตัวเหลือง ( ณัชชา สะโสม , 2556 ) ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดในภาคเหนือของประเทศไทย : บทบาทของภาวะพร่องเอนไซม์จี-ซิก-พีดีและอัลฟ่า-ธาลัสซีเมีย ผลการศึกษา ทารกแรกเกิดจานวน 543 รายเข้าร่วมในการศึกษา ทารก 87 ราย (ร้อยละ 16) มีภาวะตัว เหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ ไม่มีทารกรายใดได้รับการถ่ายเลือดวิธีการคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ภาวะหมู่เลือดเอบีโอไม่เข้ากันระหว่างทารกและมารดาและภาวะพร่องเอนไซม์จี-ซิก-พีดีทำให้ความเสี่ยงต่อ การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเพิ่มขึ้น 2-4 เท่า ชนิดของนม ร้อยละของน้ำ หนักตัวที่ลดลง ภาวะ เลือดออกชนิด Cephahematoma การเป็นพาหะของอัลฟ่า-ธาลัสซีเมียและโรคฮีโมโกลบิน เอช ไม่เป็นปัจจัย เสี่ยงของภาวะตัวเหลืองความผิดปกติของยีนส์ยูจีทีวันเอวันไม่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะตัวเหลืองในกลุ่มทารกที่มี ภาวะพร่องเอนไซม์จี-ซิก-พีดี สรุป พบอุบัติการณ์ของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดสูงในทารกแรกเกิดในภาคเหนือของประเทศไทย ภาวะ หมู่เลือดเอบีโอไม่เข้ากันระหว่างทารกและมารดาและภาวะพร่องเอนไซม์จี-ซิก-พีดีซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่ม ประชากรและวิธีการคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงทีสำคัญ ( เจริญขวัญ พิมลักษณ์, 2011 )

สรุป : พบอุบัติการณ์ของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดสูงในทารกแรกเกิดในภาคเหนือของประเทศไทย ภาวะ หมู่เลือดเอบีโอไม่เข้ากันระหว่างทารกและมารดา และภาวะพร่องเอนไซม์ จี-ซิก-พีดีซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่ม ประชากรและวิธีการคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ จากสถิติหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน 3 ปี ย้อนหลัง ( ปีงบประมาณ 2555 – 2558 ) พบว่ามีทารกตัวเหลืองได้รับการส่องไฟรักษาจำนวน 1,245 , 1,317 และ 1,200 คน ตามลำดับจากปัญหาดังกล่าวทำให้ ทารกต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น , ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเกิดภาวะเครียดของมารดาหลังคลอด ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเพื่อนำไปเป็นแนวทางใน การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองได้อย่างเหมาะสมต่อไป