บทคัดย่องานวิจัย ปี2559
การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการสลายนิ่วในไตตาม Guys score grading system เพื่อประเมินโอกาสการกำจัดนิ่วออกได้หมด, การเกิดและความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากการสลายนิ่ว
Written by adminการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการสลายนิ่วในไตตาม Guys score grading system เพื่อประเมินโอกาสการกำจัดนิ่วออกได้หมด, การเกิดและความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากการสลายนิ่ว
ไชยรักษ์ เดชพุทธวัจน์ พบ.
กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลลำพูน
บทคัดย่อ
ความเป็นมา :นิ่วในไตเป็นโรคที่ที่พบมากที่สุดในงานศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะโรงพยาบาลลำพูนปัจจุบันมีการรักษานิ่วในไตหลายวิธี เช่น การสลายนิ่ว (Extracoporeal shock wave lithotripsy:ESWL), การผ่าตัดแบบเปิด (Open nephrolithotomy), การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องผ่านผิวหนังที่สีข้าง (Percutaneous nephrolithotomy: PCNL), การสลายนิ่วในไตผ่านกล้องส่องผ่านท่อไต (Retrograde endoscopic renal surgery:RIRS ), โดยมีอัตราการกำจัดนิ่วออกได้หมด (Stone free) เป็นตัวชี้ความสำเร็จในการให้การรักษาที่สำคัญ ในปัจจุบันมี รายงานการใช้ Guys stone score grading (GSS) ในการทำนายความสำเร็จของการรักษานิ่วในโดยวิธีPCNL แต่ยังไม่มีการใช้ Guys stone score grading (GSS) ในการประเมินผู้ป่วยที่รับการสลายนิ่วมาก่อน ซึ่ง Guys stone score grading น่าจะเป็นเครื่องมือทำนายผลการรักษา, โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน ในการให้บริการผู้ป่วยนอกที่มีผู้รับบริการเป็นจำนวนมากได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราการกำจัดนิ่วออกได้หมด (Stone free rate) และการเกิดภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยโรคนิ่วในไตที่ได้รับการสลายนิ่ว (ESWL) ในกลุ่มต่างๆตาม Guys stone score gradingและประเมินภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มด้วย Modified clavian system
รูปแบบการศึกษา : การศึกษาแบบสาเหตุไปหาผล (cohort retrospective study)
สถานที่ศึกษา : ห้องตรวจผู้ป่วยนอกศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ, ห้องสลายนิ่ว, หอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะชาย หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลลำพูน
วิธีการศึกษา : ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน, ประวัติความเจ็บป่วย, อัตราการกำจัดนิ่วออกได้หมด (Stone free rate) และการเกิดภาวะแทรกซ้อน ด้วยการทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยนิ่วในไตที่ได้รับการสลายนิ่วของโรงพยาบาลลำพูนตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556ถึงเดือนมีนาคม 2558, ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจ Plain KUB ร่วมกับการตรวจ Intranous pyelography หรือ Computed axial tomography หรือ Retrograde pyelography หรือ Ultrasonography โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มตาม Guys stone score grading ตามลักษณะที่ตรวจพบทางรังสี ประเมินโดยแพทย์ผู้ให้การรักษา และแบ่งระดับของภาวะแทรกซ้อนตาม Modified clavian system, ประเมินความสำเร็จของการรักษา (Stone free) ด้วยการตรวจ Plain KUB หลังสลายนิ่วที่ 3เดือน ผู้ป่วยที่ไม่พบนิ่วในทางเดินปัสสาวะข้างที่ได้รับการสลายนิ่ว หรือมีเศษนิ่วที่มีขนาดเล็กกว่า4มิลลิเมตร จากการตรวจ Plain KUB ถือว่าประสบผลสำเร็จในการรักษา (Stone free), หากมีนิ่วที่มีขนาดใหญ่กว่า4มิลลิเมตรเหลืออยู่ในไตข้างที่ได้รับการสลายนิ่ว ถือว่าการรักษาไม่ประสบผลสำเร็จ
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีสัดส่วนระหว่างเพศชายและเพศหญิงในแต่ละกลุ่มGSS ใกล้เคียงกัน,ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และมีอาชีพเกษตรกรและรับราชการรองลงมาตามลำดับอัตราความสำเร็จในการสลายนิ่วในไตออกได้หมด (Stone free rate)กลุ่ม เป็นร้อยละ54.05, 30.43, 5.26, 0 ในกลุ่ม GSS1,2,3 และ 4 ตามลำดับโดยเฉพาะกลุ่ม GSS1 มีผลสำเร็จมากกว่ากลุ่ม GSS2 อย่างมีนัยสำคัญและไม่มีความสำเร็จในการสลายนิ่วในผู้ป่วยกลุ่มGuystone score4 ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มี Complete staghorn calculus, และไม่มีความแตกต่างในอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในแต่ละ GSS score, ยกเว้นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม GSS3 1ราย ที่มีภาวะช็อคเนื่องจากการเสียเลือดปริมาณมาก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนระดับ4 เนื่องจากต้องได้รับการรักษาด้วยการตัดไตข้างที่ได้รับการสลายนิ่ว
สรุป : ผู้ป่วยทีอยู่ใน GSS ระดับต่ำมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้ป่วย GSS ระดับที่สูงกว่า แต่มีโอกาสพบความสำเร็จในการรักษาสูงกว่าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดหลังการสลายนิ่วมีพยาธิสภาพที่ไม่รุนแรงและมักจะหายเองได้โดยไม่ต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม (Modified clavian system grade1) โดยเฉพาะภาวะถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria), อาการเจ็บ (Pain) ที่ไม่เกินระดับ3, ดังนั้น Guys score index จึงเป็นเกณฑ์ที่ประโยชน์ในทางคลีนิกที่ใช้ทำนายโอกาสกำจัดนิ่วออกจากไตได้หมด,การเกิดภาวะแของผู้ป่วยนิ่วในไตที่รับการรักษาด้วยการสลายนิ่วได้,และใช้พิจารณาความแตกต่างของความสำเร็จในกลุ่ม GSS1และ GSS2 ได้, ซึ่งเป็นการแบ่งคะแนนที่ใช้ได้ง่ายในทางปฏิบัติ,และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจให้การรักษาและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยโรคนิ่วในไตที่ต้องการรับการรักษาด้วยการสลายนิ่วได้เป็นอย่างดี
คำสำคัญ : Extracoporeal shock wave lithotripsy(ESWL), Open nephrolithotomy, Percutaneous nephrolithotomy(PCNL), Retrograde endoscopic renal surgery (RIRS), Intranous pyelography (IVP), Computed axial tomography (CAT Scan), Retrograde pyelography (RP), Ultrasonography (U/S), Guys stone score grading (GSS), Modified clavian system, Stone free rate