Copyright 2025 - Custom text here

Restart การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลลำพูน

เอกชัย ชัยยาทา วิทยาศาสตร์บัณฑิต

กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลลำพูน

ความเป็นมา : สภาวะพฤติกรรมสุขภาพของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลลำพูน ปี 2557 พบว่า พฤติกรรมสุขภาพของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลลำพูน ที่อยู่ในระดับเสี่ยงมาก ได้แก่ พฤติกรรมด้านการบริโภค มีการกินผักน้อยกว่าครึ่งกิโลกรัมต่อวัน ร้อยละ 91.70 , พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย มีการออกแรงหรือเคลื่อนไหวร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์และไม่ออกแรงหรือเคลื่อนไหวร่างกายร้อยละ 83.77

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการ กิน ออกกำลัง และอารมณ์รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลลำพูน ที่มีภาวะสุขภาพอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสูงให้มีแนวโน้มของภาวะสุขภาพไปในทิศทางที่ดีขึ้น

วิธีการดำเนินการ : ศึกษาในลักษณะ Routine to Research โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เริ่มศึกษาตั้งแต่ 29 ตุลาคม 2558 และข้อมูลเป็นของตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง 15 กรกฎาคม 2559 ผู้ได้รับการศึกษาคือผู้รับบริการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลลำพูน ที่มีภาวะสุขภาพอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสูง จำนวน15 คน Interventionหลัก ได้แก่ การให้คำปรึกษาในการดูแลสุขภาพรายบุคคล โดยมีการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการและแบบสอบถาม ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า การการวิเคราะห์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย , การจำแนกประเภทข้อมูลและการเปรียบเทียบข้อมูล

ผลการศึกษา : ด้านข้อมูลพื้นฐาน พบว่า กลุ่มศึกษามีอายุ 20 – 40 ปี จำนวน 9 ราย อายุ 41 – 60 ปี จำนวน 6 ราย เพศชาย จำนวน 3 ราย เพศหญิง จำนวน 12 ราย ด้านการศึกษาพฤติกรรมการ กิน ออกกำลัง และอารมณ์ พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 44.13 และหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 48.0 ด้านการมีส่วนร่วม พบว่ามีส่วนร่วมใน 4 ขั้นตอน คือ การตัดสินใจ , การปฏิบัติการ , การรับผลประโยชน์และการประเมินผล ด้านภาวะสุขภาพและระยะของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Stage of Changes พบว่า ส่วนใหญ่น้ำหนักลดลง(อยู่ในระยะลงมือทำยังไม่ 6 เดือน) จำนวน 11 ราย น้ำหนักคงที่(ระยะวางแผนที่จะทำ) จำนวน 2 รายและน้ำหนักเพิ่มขึ้น(ระยะ ย้อนกลับพฤติกรรมเสี่ยงเดิม) จำนวน 2 ราย

สรุปและข้อเสนอแนะ : การสร้างเสริมสุขภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วม และมีเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มที่มีภาวะสุขภาพเสี่ยงสูง ทำให้การดำเนินงานมีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น มีการนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในคลินิกส่งเสริมสุขภาพ Fit for Life โรงพยาบาลลำพูน บทเรียนที่ได้รับ ทำให้เกิดการพัฒนางาน พัฒนาคนและพัฒนาทีมซึ่งต้องทำไปพร้อมกัน ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการที่ผู้บริหารเห็นความสำคัญและผู้รับผิดชอบงานด้านพฤติกรรมสุขภาพเห็นคุณค่าในงานที่ทำ

คำสำคัญ : พฤติกรรมสุขภาพ , ภาวะสุขภาพอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสูง , กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

สืบค้นงานวิจัยทางการศึกษา ThaiEdResearch

การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด Web OPAC

การสืบค้น Free Database ฐานข้อมูล Google Scholar