Copyright 2025 - Custom text here

เบาะรองทารกทำหัตถการ

นางสาววรรณิดา กิติธนะ

หลักการและเหตุผล :เนื่องจากหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม เป็นหอผู้ป่วยที่ให้การดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 0-15 ปี จึงมีผู้ป่วยเด็กทั้งในส่วนของผู้ป่วย New Born และเด็กโต ทั้งนี้มีจำนวนเด็กป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-2 เดือน เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยในอัตรา 1 ใน3 ของผู้ป่วยทั้งหมดโดยในปี 2555 ทารก 0 - 2 เดือนเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ร้อยละ 30.49 ปีพ.ศ.2556 ร้อยละ 31.37 และ ในปีพ.ศ.2557 ( 8 เดือน )ร้อยละ 31.95 ในการรักษาพยาบาลต้องมีการทำหัตถการต่างๆ ตามแผนการรักษาเช่น การเจาะเลือด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ต้องมีการยึดตรึงเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ต่อประสิทธิภาพในการทำหัตถการ ซึ่งปัจจุบันต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการทำหัตถการอย่างน้อยสองคน คนหนึ่งทำหัตถการอีกคนช่วยจับเด็ก จัดท่าเด็กในขณะทำ ประกอบกับในการทำหัตถการบางครั้งพบปัญหาเด็ก New Born มีอาการสำลัก สำรอกและแหวะนม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะ cyanosis ต้องได้รับการช่วยเหลือฉุกเฉิน ทารกได้ย้ายไปยังหอผู้ป่วยวิกฤติโดยไม่ได้คาดหมาย จากการทบทวน พบว่าสาเหตุหนึ่งคือ การจัดท่า ทารกควรนอนศีรษะสูง 10-30 องศา เพื่อป้องกันการสำรอกนม และสำลักลงปอด จากปัญหาที่พบดังกล่าว จึงมีแนวคิด นวัตกรรม “เบาะรองทารกทำหัตถการ ” เพื่อช่วยในการจัดท่าและยึดตรึงเด็ก New Born ขณะทำ หัตการขึ้น โดยหวังว่าจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการทำหัตถการต่างๆของเด็ก New Born นอกจากนี้ยังสะดวกในการทำหัตถการทารก ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำหัตถการทารกแรกเกิดและลดภาวะแทรกซ้อนจากการสำรอกนมในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม

วัตถุประสงค์ :

1. เพื่อลดจำนวนบุคลากรในการทำหัตถการ

2. เพื่อลดระยะเวลาในการทำหัตถการ

3. เพื่อลดความรู้สึกหวาดกลัวของเด็กในขณะทำหัตถการ

4. เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในขณะทำหัตถการ

5. เพื่อความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ

กลุ่มเป้าหมาย :ผู้ป่วยเด็กที่มีอายุ 0-2 เดือนที่ทำหัตถการในขณะเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลลำพูน

บทวิเคราะห์ / แนวคิด / ข้อเสนอแนะ :

ภาวะไข้ชัก พบได้ประมาณร้อยละ 2-4 ในเด็กที่มีช่วงอายุ 6 เดือนถึง 6 ปี เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่เซลล์สมองมีความไวต่อความร้อนที่เพิ่มขึ้นสูงมักพบในกรณีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส และเกิดในสองวันแรกของการมีไข้ อาการชักไม่ว่าจะมีไข้หรือไม่ก็ตามก็จะมีผลกระทบกระเทือนต่อสมองที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้เสื่อมหน้าที่ไปไม่มากก็น้อย บางรายก็ถึงกับสมองพิการและเมื่อเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่สมองพิการ ไม่สามารถเป็นกำลังของชาติ ช่วยพัฒนาประเทศได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร จะเห็นได้ว่าถ้าประชากรเด็กของไทยมีอาการชักจากไข้สูงเป็นจำนวนมากก็จะเกิดผลเสียดังกล่าว เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ โดยเฉพาะพยาบาล แพทย์ ผู้ทำหน้าที่พยาบาลรักษา และบิดามารดา ผู้ปกครองและญาติของผู้ป่วย ทั้งนี้ในขั้นตอนของการวินิจฉัยและรักษา แพทย์ต้องทำการวินิจฉัยและตรวจรักษาโดย การเจาะเลือด ซึ่งในการทำหัตถการกับผู้ป่วยเด็ก เจ้าหน้าที่พบปัญหาว่า ผู้ป่วยเด็กไม่ให้ความร่วมมือในการทำหัตถการ จึงทำให้ในการทำหัตถการแต่ละครั้งต้องใช้บุคลากรมากกว่า 1 คน และถ้าผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเช่นอยู่ในภาวะชัก จะทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ และอาจทำให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไม่พอใจ ที่มีเจ้าหน้าที่จำนวนมากจับตัวเด็กขณะทำหัตถการ หรือเช็ดตัวลดไข้และผู้ป่วยเด็กอาจเกิดความรู้สึกหวาดกลัว ดังนั้น จึงจัดทำอุปกรณ์แผ่นรองสำหรับรัดตัวผู้ป่วยขณะทำหัตถการที่มีลักษณะคล้ายของเล่น หรือสีสันสดใส เพื่อช่วยลดความหวาดกลัวในการทำ และให้ความร่วมมือในการทำหัตถการตามมา

บทบาทของพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่ชักจากไข้สูงนั้น มีความสำคัญมาก นอกจากต้องมีความชำนาญในการให้การพยาบาลผู้ป่วยขณะชัก เพื่อช่วยให้รอดชีวิตปลอดภัย และรอดพ้นจากภาวะพิการสมองเสื่อมหรือด้อยปัญญาแล้ว จะต้องมีความสามารถในการให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาแนะนำญาติผู้ป่วยให้มีสติสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งขณะชักและป้องกันไม่ใช้ชักได้ด้วยความมั่นใจ โดยเน้นถึงการระวังเรื่องไข้ การลดไข้ และการให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์โดยเคร่งครัด เนื่องจากผู้ป่วยประเภทนี้มีโอกาสที่จะชักซ้ำได้มาก ถ้ามีไข้ และเมื่อพยาบาลสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมตามบทบาทของตนเองและญาติผู้ป่วยสามารถทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีแล้ว จำนวนเด็กที่มีอาการชักจากไข้สูงและจำนวนประชากรที่มีสมองพิการก็จะต้องลดจำนวนลงอย่างแน่นอน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

1. จำนวนบุคลากรในการทำหัตถการลดลง

* ก่อน ใช้บุคลากรมากกว่า 1 คน

* หลัง ใช้บุคลากรจำนวน 1 คน

2. ใช้เวลาในการทำหัตถการลดลง

3. ผู้ป่วยเด็กหวาดกลัวลดลง

4.ผู้ป่วยปลอดภัยจากการพลัดตกเตียงขณะทำหัตถการ

5.อัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่และญาติ > 80 %

ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

1. ผู้ป่วยปลอดภัยในขณะทำหัตถการ 100 %

2. อัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่และญาติ > 80 %

3. ลดจำนวนบุคลากรขณะทำหัตถการได้

ลักษณะกิจกรรม :

1.วางแผนการดำเนินงาน ประชุมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

2. ประชุมทีมและวางแผนการดำเนินงาน

3. จัดทำอุปกรณ์ที่มีสีสันน่าสนใจสำหรับเด็ก และมีความปลอดภัยเมื่อใช้งาน

4. ประชุมชี้แจงการใช้เบาะรองทารกทำหัตถการให้บุคลากรในหน่วยงานรับทราบ

5. ทดลองใช้อุปกรณ์ที่จัดทำ และแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่อง

6. ติดตามและประเมินผล

สืบค้นงานวิจัยทางการศึกษา ThaiEdResearch

การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด Web OPAC

การสืบค้น Free Database ฐานข้อมูล Google Scholar