Copyright 2025 - Custom text here

การพัฒนาระบบการล้าง-จ่าย- สำรอง Syringe Irrigate.

นางอุบลรัตน์ เวียงแก้ว พว. งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลลำพูน

ความเป็นมา :จากปัญหาความไม่เพียงพอนำจ่าย Syringe Irrigate.ให้หน่วยงานต่างๆที่รับบริการ ได้ตามความต้องการ ทำให้มีการค้างจ่ายSyringe Irrigate.ในทุกรอบนำจ่ายโดยเฉพาะรอบเช้า เป็นผลให้คนไข้ได้รับบริการ การรักษาพยาบาลที่ล่าช้าเจ้าหน้าที่นำจ่าย Syringe Irrigate.มีความเครียดจากการถูกทวง Syringe Irrigateหากนำจ่ายไม่ครบ

วัตถุประสงค์ :มีระบบการสำรอง Syringe Irrigate.ให้เพียงพอจ่ายให้ทุกหน่วยงานไม่มีการค้างจ่ายในทุกรอบของการนำจ่าย ในโรงพยาบาลลำพูน

วิธีการศึกษา :

1. สำรวจจำนวน Syringe ทั้งหมดที่มีอยู่ และ ปริมาณการใช้งานต่อเดือน

2. แจ้งโครงการและปรึกษาหาข้อคิดเห็นร่วมในหน่วยงานจ่ายกลาง ในการพัฒนาระบบการล้าง-จ่าย และ สำรอง Syringe Irrigate. ให้เพียงพอจ่ายให้หน่วยงานต่างๆที่รับบริการ ได้ตามความต้องการ ลดการค้างจ่ายในทุกรอบนำจ่าย

3. นำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงแผนการดำเนินงาน

4. เริ่มปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานที่ปรับปรุงแล้ว

5. ติดตามประเมินผล

การดำเนินงาน :

ผลการศึกษา :

เชิงปริมาณ

  • ก่อนดำเนินการ มีการค้างจ่าย Syringe Irrigate เช้าไปจ่ายรอบบ่ายประมาณ 50 set / วัน
  • หลังดำเนินการไม่มีการค้างจ่าย Syringe Irrigate

เชิงคุณภาพ

ด้านผู้ปฏิบัติงาน :เจ้าหน้าที่นำจ่าย Syringe Irrigate. ลดความเครียดจากการถูกทวง Syringe Irrigateหากนำจ่ายไม่ครบ ลดการทะเลาะวิวาทภายในของเจ้าหน้าที่นำจ่ายเพื่อแย่ง Syringe Irrigateไปนำจ่าย

ด้านผู้รับบริการ :

  • สามารถให้การพยาบาลได้ตรงตามเวลาครบถ้วน สะอาดถูกต้องตามหลักปราศจากเชื้อ
  • ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องครบถ้วน
  • สรุป

การพัฒนาระบบการล้าง-จ่าย และ สำรอง Syringe Irrigate.ทำให้มี Syringe Irrigate. เพียงพอนำจ่ายทุกหน่วยงานไม่มีการค้างจ่ายในทุกรอบของการนำจ่าย ในโรงพยาบาลลำพูน

ข้อเสนอแนะ :สามารถนำรูปแบบการพัฒนาระบบ ไปใช้กับการพัฒนาระบบในด้านอื่นๆได้

คำสำคัญ :การพัฒนาระบบ / การล้าง-จ่าย และ สำรอง Syringe Irrigate.

การล้างและอบแห้ง Syringe Irrigate.

สืบค้นงานวิจัยทางการศึกษา ThaiEdResearch

การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด Web OPAC

การสืบค้น Free Database ฐานข้อมูล Google Scholar