Copyright 2025 - Custom text here

การศึกษาเวลาที่เหมาะสมในการปั่นแยกพลาสมาจากหลอด 3.2% Sodium Citrate เพื่อลดเวลาในการตรวจวิเคราะห์ PT ,INR

พิสุทธินี กันธารักษ์ วท.บ. กนกวรรณ ใจพิงค์ วท.บ. สุรศักดิ์ เรือนกองเงิน วท.บ.

งานโลหิตวิทยา กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลลำพูน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การตรวจ PT , INR ต้องมีการเตรียมตัวอย่างเลือดก่อนการตรวจวัดด้วยเครื่องตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดอัตโนมัติ โดยการปั่นตัวอย่างเลือดปริมาณ 2.5 mlที่บรรจุในหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด 3.2% Sodium Citrate ด้วยเครื่องปั่นการตกตะกอนที่ความเร็วรอบ 3,000 rpm นาน 15 นาที เพื่อให้ได้พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 10,000 cells/ul(ตามข้อกำหนดจากมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ ( Clinical and Laboratory Standards Institute : CLSI) ทำให้ระยะเวลาในการตรวจทั้งหมด (Turnaround time)ประมาณ 60 นาที ในกรณีผู้ป่วย Stroke fast track หรือ Trauma ที่ต้องการผลด่วนภายใน 30 นาที จึงไม่สามารถได้ผลทันต่อการรักษาพยาบาล

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเวลาและความเร็วรอบที่เหมาะสมของเครื่องปั่นตกตะกอน ที่ใช้ในการปั่นแยกพลาสมา เพื่อให้ได้พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 10,000 cells/ul สำหรับการตรวจ PT , INR

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาทดลอง จากผู้มาบริจาคโลหิต ที่ภาคบริการโลหิต กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลลำพูน ในช่วงเดือนธันวาคม 2558-กุมภาพันธ์ 2559 จำนวน 40 ราย โดยนำเลือดที่ได้มาปั่นแยกที่เวลาต่างกันแล้วตรวจวัดปริมาณ Platelets ด้วยเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ

ผลการศึกษา: การปั่นตัวอย่างเลือดด้วยวิธีมาตรฐานคือความเร็วรอบมาตรฐาน 3,000 rpm นาน 15 นาที เทียบกับ ความเร็วรอบ 3,000 rpm นาน 10 นาที และ 4,000 rpm นาน 5 นาที วัดค่าเกล็ดเลือดได้น้อยกว่า 10,000 cells/ul คิดเป็นร้อยละ 100 และเมื่อเทียบกับความเร็วรอบ 4,000 rpm นาน 2 นาที วัดค่าเกล็ดเลือดได้น้อยกว่า 10,000 cells/ul คิดเป็นร้อยละ 75

สรุปและข้อเสนอแนะ: เวลาและความเร็วรอบที่ดีที่สุดในการปั่นแยกตัวอย่างเลือดปริมาณ 2.5 ml ที่บรรจุในหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด 3.2% Sodium Citrate ด้วยเครื่องปั่นการตกตะกอน เพื่อให้ได้พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 10,000 cells/ul คือที่ความเร็วรอบ 4,000 rpm นาน 5 นาที

คำสำคัญ: การปั่นแยกพลาสมา, การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด ( Coagulation) ,เครื่องปั่นเหวี่ยง

 

 

 

 

 

สืบค้นงานวิจัยทางการศึกษา ThaiEdResearch

การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด Web OPAC

การสืบค้น Free Database ฐานข้อมูล Google Scholar