Copyright 2025 - Custom text here

ผลของการพัฒนาการจำหน่ายผู้ป่วยด้วยแนวคิดลีน

นางวัชราภรณ์ เชษฐบุรี พยาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลลำพูน

ความสำคัญ : กลุ่มการพยาบาลอายุรกรรม มีผู้ป่วยเฉลี่ย ๘๐ – ๙๐ คนต่อวัน รับใหม่เฉลี่ย ๓๒ คนต่อวัน จำหน่ายเฉลี่ย ๓๐ คนต่อวัน มีอัตราการใช้เตียงสูง บางครั้งผู้ป่วยรับใหม่ไม่มีเตียงนอน เนื่องจากรอจำหน่ายผู้ป่วย การจำหน่ายผู้ป่วยใช้เวลานาน

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการจำหน่ายผู้ป่วยให้รวดเร็ว ถูกต้อง และปลอดภัย

รูปแบบการศึกษา สถานที่ กลุ่มตัวอย่าง :รูปแบบการศึกษา Action Research โดยการวิเคราะห์กระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย จัดทำแบบบันทึกเวลา กระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย วิเคราะห์ Wastes จาก DOWNTIME เก็บข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการ พัฒนา สถานที่ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย๑ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ๒ และหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง กลุ่มตัวอย่าง ๘๑ ราย เป็นผู้ป่วยที่จำหน่ายในช่วงวันที่ ๒๕ – ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ และ ๑๔ – ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘

วิธีการวัดผล:วัดระยะเวลาในการจำหน่ายผู้ป่วย ในแต่ละกระบวนการ เปรียบเทียบก่อนและหลัง การปรับปรุงกระบวนการจำหน่าย

ผลการศึกษา:ผลการวิเคราะห์กระบวนการพบจุดคอขวดของกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย ดังนี้

  • ส่วนของแพทย์ แพทย์เยี่ยมผู้ป่วยจนเสร็จ แล้วจึงเขียนคำสั่งการรักษาจำหน่าย
  • ส่วนของพยาบาลแต่ละตึกมีพยาบาลที่ทำหน้าที่จำหน่ายผู้ป่วย ๑ คน กระบวนการจำหน่ายจะเริ่มเมื่อทำงานประจำร่วมกับทีมให้เสร็จก่อน หรือเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกับแพทย์จนเสร็จสิ้นทุกเตียง
  • พนักงานช่วยเหลือคนไข้ประจำหอผู้ป่วยต้องลงบันทึกค่ารักษาพยาบาลให้ครบถ้วนก่อนนำเวชระเบียนลงไปศูนย์จำหน่าย
  • ขาดการติดตามและตรวจสอบสิทธิบัตร ขาดการติดตามยาเดิมของผู้ป่วย
  • ที่ศูนย์จำหน่าย มีการนำเวชระเบียนลงไปคิดค่ารักษาในช่วงเวลาเดียวกัน
  • เจ้าหน้าที่ศูนย์จำหน่ายทำหน้าที่ตรวจสอบความครบถ้วนของการคิดค่ารักษาซ้ำ
  • รอรับยานาน เนื่องจากมีผู้ป่วยจำหน่ายในช่วงเวลาเดียวกัน

นำสู่การปรับปรุงกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย

  • มอบหมายให้พนักงานช่วยเหลือคนไข้ติดตามการตรวจสอบสิทธิบัตรผู้ป่วยทุกวันในเวรเช้า
  • มอบหมายให้พยาบาลวิชาชีพผู้ทำหน้าที่รับใหม่ ติดตามยาเดิมของผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ
  • ปรับหน้าที่ความรับผิดชอบให้มีพยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่แจกยากินมาช่วยตรวจสอบยาจำหน่าย และช่วย Fax คำสั่งการรักษาไปห้องยา
  • แบ่งประเภทการจำหน่ายออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ จำหน่ายปกติ ปรึกษาแผนกอื่นๆ ก่อนจำหน่าย และต้องเบิกยาไปฉีดต่อ
  • ดำเนินการจำหน่ายผู้ป่วยกลุ่มปกติก่อน
  • มีการจัดทำแบบฟอร์ม ลงบันทึกการทำหัตถการให้เหมือนกัน เช่น แบบฟอร์มบันทึกการทำ DTX
  • การกำหนดสัญญาลักษณ์การทำหัตถการ ต่างๆ ให้เข้าใจตรงกัน บันทึกลงในฟอร์มปรอท เช่น M คือผู้ป่วย on Monitor B คือ on Bird Respirator o2 คือผู้ป่วย on ออกซิเจน เป็นต้น
  • ให้พนักงานช่วยเหลือคนไข้ทยอยนำ chart ไปคิดค่ารักษาที่ศูนย์จำหน่าย
  • ผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ใช่โรคเรื้อรังให้รับยาและกลับบ้านได้โดยไม่ต้องนำยากลับมาให้พยาบาลที่ตึกตรวจสอบซ้ำ
  • กรณีต้องการจำหน่ายผู้ป่วยเร่งด่วน สามารถนำ Chart ลงไปคิดค่าใช้จ่ายก่อนโดยไม่ต้องเรียง Chart แต่ให้เอาฟอร์มปรอทอยู่ด้านบนสุด
  • ปรับการทำงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์จำหน่าย โดยทำหน้าที่ของผู้คิดค่ารักษาไม่ใช่ผู้ตรวจสอบ

ผลการศึกษา เปรียบเทียบระยะเวลาในการจำหน่ายระยะเวลาสูงสุด :

ข้อยุติและการนำไปใช้ :

  • มีการปรับปรุงแนวทางในการจำหน่ายผู้ป่วยที่ชัดเจน
  • เกิดการเรียนรู้ร่วมกันจากการทำงานเป็นทีม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การจำหน่ายผู้ป่วยรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ
  • ขยายผลการดำเนินงานไปยังหอผู้ป่วยอื่นๆ
  • เกิดการพัฒนาการทำงานของศูนย์จำหน่ายผู้ป่วย

คำสำคัญ:การพัฒนากระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย แนวคิดลีน

 

 

 

 

 

สืบค้นงานวิจัยทางการศึกษา ThaiEdResearch

การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด Web OPAC

การสืบค้น Free Database ฐานข้อมูล Google Scholar