Copyright 2025 - Custom text here

การพัฒนากระบวนการให้บริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลลำพู

นาง พรพิมล คุณประดิษฐ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน

บทคัดย่อ

งานบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลลำพูน เป็นหน่วยงานที่ให้บริการครอบคลุมการตรวจรักษาพยาบาล การคัดกรองความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสุขภาพ ปัจจุบันมีผู้รับบริการในคลินิกเฉลี่ยวันละ 200 คน ทำให้การตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการไม่ทั่วถึง อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ที่ร้อยละ 86.08 และมีระยะเวลาในการให้บริการโดยเฉลี่ย 158 นาทีต่อคนซึ่งยังไม่ถึงเป้าหมายของการให้บริการ การวิจัยพัฒนางานบริการคลินิกเบาหวานนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2559-วันที่ 30 มิถุนายน 2559

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลลำพูน โดยการประยุกต์แนวคิดลีน และเพื่อศึกษาระยะเวลาโดยรวมของการใช้บริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลลำพูน ก่อนและหลังพัฒนา โดยการประยุกต์แนวคิดลีน กระบวนการพัฒนางานนี้ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนคือขั้นตอนการวิเคราะห์ความสูญเปล่า ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลารอคอยเฉลี่ย ขั้นตอนการสะท้อนผลและปรับปรุงระบบงาน โดยประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมวิเคราะห์วางแผนพัฒนาระบบงาน และขั้นตอนการนำผลการวางแผนพัฒนาขยายผลสู่การปฏิบัติ ทำการทดลอง

ผลการศึกษา : พบว่า กิจกรรมที่เป็นความสูญเปล่าที่ทำให้ผู้ป่วยใช้เวลามาก ได้แก่ความสูญเปล่าจากการทำงานซ้ำซ้อน การเคลื่อนย้ายงานที่ไม่จำเป็น การแก้ไขข้อผิดพลาด การรอคอย การทำงานไม่ทัน การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน การใช้คนทำงานผิดประเภท จากการสะท้อนผลความสูญเปล่าในการให้บริการทำให้เกิดการพัฒนางาน สามารถลดขั้นตอนการให้บริการได้ 2 ขั้นตอน ลดระยะเวลารอคอยลงได้ 42 นาที เพิ่มอัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ที่ร้อยละ 88.08

สรุป : ได้ว่า ผลการพัฒนากระบวนการให้บริการงานบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ตามแนวคิดลีน ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของหน่วยงาน ช่วยลดความสูญเปล่าและลดระยะเวลาการรอคอยของผู้รับบริการได้

คำสำคัญ : กระบวนการให้บริการงานบริการ , คลินิกเบาหวาน , แนวคิดลีน

 

 

 

 

 

สืบค้นงานวิจัยทางการศึกษา ThaiEdResearch

การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด Web OPAC

การสืบค้น Free Database ฐานข้อมูล Google Scholar